Home / News / The Sensibility of Scandinavian Design

The Sensibility of Scandinavian Design

September 12, 2019

ช่วงบ่ายกลางสัปดาห์ เรามีนัดสัมภาษณ์กับชายหนุ่มผู้อยู่เบื้องหลังบริษัทนำเข้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านสไตล์สแกนดิเนเวียนที่โชว์รูมของเขาในซอยสมคิด ซอยเล็กๆที่เราค่อยๆเดินเข้าไปได้ เพียงเดินตามแนวใต้ร่มไม้และเลี้ยวซ้ายที่แยกช่วงกลางซอย จากนั้นเดินต่อเข้าไปอีกไม่ไกลก็พบกับบ้านหลังเล็กโอบล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ปกคลุมและเคลื่อนไหวไปตามสายลมอ่อนในบรรยากาศอันแสนร่มรื่น เงียบสงบจนยากจะเชื่อว่าเรามายืนอยู่ ณ ใจกลางกรุงเทพในจุดที่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้ชิดลมอันวุ่นวาย เราเดินสำรวจรอบอาคารสองชั้นหน้าตาน่ารักที่มีเสน่ห์เฉพาะตัวในแบบร่วมสมัย มีทั้งความเก่า ทั้งเทกซ์เจอร์ขรุขระ มีทั้งความใหม่ โมเดิร์น และพื้นผิวราบเรียบเนียนเนียบ ประตูกระจกเลื่อนเปิดต้อนรับเราเข้าสู่ภายในของโชว์รูม House of Fritz Hansen ที่อาร์มแชร์หนังดีไซน์เรียบเท่เราได้พบกับคุณ วีกฤษฎิ์ พลาฤทธิ์ หรือคุณอ๋อง กรรมการผู้จัดการบริษัท นอร์ส รีพับบลิค จำกัด คุณอ๋องพาเราเดินชมรอบโชว์รูมของเขา ก่อนจะพาเราไปนั่งพูดคุยให้สัมภาษณ์อย่างเป็นกันเองที่เซ็ตอาร์มแชร์โครงไม้บุผ้าริมหน้าต่าง

An afternoon in the middle of the week, we have an interview appointment with the man behind a company that imports Scandinavian furniture and home decor at his showroom at Soi Somkid. It’s a small soi that one can comfortably walk into by following the shade of the lined trees and taking a left at the middle of the soi. In just a short stone’s throw away, you’d find a small house surrounded by large trees that flutter with the gentle breeze in this shady and leafy space. It’s invitingly serene and hard to believe that we’re right in the heart of Bangkok— only a few steps away from the bustling Chidlom train station. We  inspect this cute 2-storey home that is charming in its own way: there is an oldness and rough textures, as well as newness, modernity and smooth surfaces. The glass door slides open to welcome us into the House of Fritz Hansen showroom. Sitting on a slick, leather armchair, we meet Veekrit Palarit, or Ong, the managing director of Norse Republics. Ong takes us on a tour around his showroom, before we sit down for an intimate chat on his fabric-lined armchairs set by the window.

 

เราเริ่มด้วยการขอให้เขาช่วยเล่าถึงแบ็คกราวด์คร่าวๆของตัวเองก่อน “ผมจบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่เมืองไทย และเริ่มช่วยงานธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมของที่บ้าน แต่พอเราเข้าไปทำจริงๆแล้วผมรู้สึกว่าไม่ใช่สิ่งที่เราชอบ เรารู้สึกไม่อินและไม่มี passion กับมัน แต่โชคดีที่ตอนนั้นที่บ้านเปิดบริษัทใหม่ขึ้นมาอีกหนึ่งบริษัท และเราก็ได้มีโอกาสไปช่วยดูเรื่อง Branding งานกราฟฟิกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็ปไซต์ ซึ่งทำให้เราพบกับสิ่งที่ชอบและถนัดมากกว่า หลังจากนั้นผมก็ขอที่บ้านลาออกเพื่อไปเรียนต่อด้านดีไซน์ครับ” คุณอ๋องเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่นำพาเขาไปสู่การศึกษาในสาขาวิชาออกแบบอุตสาหกรรม ที่ IED (Istituto Europeo di Design, Milan, Italy) “ผมเลือกเมเจอร์เป็นวิชาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งจริงๆเราไปเรียนในหลักสูตรปริญญาโทที่ใช้เวลาแค่ปีเดียวก็ได้ แต่ผมคิดว่าถ้าเราจะมาสายงานนี้จริงจัง เราก็ควรปูพื้นใหม่ทั้งหมด เพราะว่าเราไม่มีพื้นฐานทางด้านดีไซน์มาก่อน” คุณอ๋องสำเร็จการศึกษาในปี 2012 พร้อมผลงาน Thesis ที่ได้รับรางวัลที่หนึ่ง เป็นโคมไฟดีไซน์โมเดิร์นซึ่งออกแบบให้กับ Swarovski

We ask him to start out by telling a bit about his background. “I did my bachelor’s degree in engineering in Thailand and started to help out with my family’s business of industrial production. When I really got down to it though, I felt that it wasn’t something I liked. I didn’t feel into it and didn’t have any passion for it at all, but luckily, at that time, my family started a new business too. I had the chance to help out with the branding and various graphic works, such as the website, which I enjoyed and felt more adept with. After that, I asked to leave in order to study more on design.” Ong shares his beginnings that lead him to studying Industrial Design at IED (Istituto Europeo di Design, Milan, Italy). “I chose to major in furniture design. In truth, if you chose to study the master’s degree curriculum, you would need only a year. But since I wanted to take this career path seriously, I felt like I should lay all my foundations again, because I have never had any background in design before.” Ong graduated in 2012 with his thesis coming in first place—where he had designed a modern-styled lamp for Swarovski.

หลังจากนั้นคุณอ๋องก็ตัดสินใจกลับมาที่ประเทศไทยโดยมีความตั้งใจเริ่มแรกที่จะทำแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ของตัวเอง แต่ด้วยที่เขาได้สัมผัส และรู้จักกับงานเฟอร์นิเจอร์มากมายจากทั่วโลก รวมถึงเห็นในสิ่งที่ตลาดในประเทศยังขาดอยู่ เขาเลยตัดสินใจเลือกเปลี่ยนที่จะมาเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากแบรนด์ต่างประเทศที่เขาชื่นชอบและคิดว่าคนรุ่นใหม่ก็น่าจะชอบ “ผมเปิดบริษัทของตัวเองในชื่อ Norse Republic ในปี 2015 ครับ เรามีกลุ่มเป้าหมายที่ค่อนข้างชัดเจน ตอนนั้นที่อิตาลีซึ่งเป็นเมืองที่โดดเด่นในเรื่องแฟชั่นและดีไซน์ เราจะพบงานดีไซน์เจ๋งๆเยอะมากที่เป็นสไตล์สแกนดิเนวียนซึ่งกลับมาบูมอีกครั้งโดยมาพร้อมกับเทรนด์การอยู่อาศัยแบบ Hygge (ฮุกกะ) ซึ่งถือเป็น interior design trend จากสแกนดิเนเวียที่เน้นแนวคิดเรื่องการใช้ชีวิตในบ้านอย่างไรให้มีความสุข ไม่ได้เกี่ยวกับการดีไซน์ตรงๆ นะครับ อย่างเช่นการจัดสรรพื้นที่อย่างไรให้เราสามารถนั่งอยู่ตรงบริเวณนั้นได้ตลอดวันกับหนังสือสักเล่มและกาแฟสักถ้วยอย่างมีความสุข” คุณอ๋องเล่าถึงแรงบันดาลใจและความชอบส่วนตัวของเขาที่นำมาสู่จุดเริ่มต้นของธุรกิจ เขาพบว่าในตอนนั้นที่เมืองไทยมีแต่คนโฟกัสไปที่งานออกแบบสไตล์อังกฤษ อิตาลี่ และอเมริกา  เขาเลยเห็นโอกาสในการนำเสนอสิ่งใหม่ๆในตลาด ซึ่งสำหรับแบรนด์แรกที่เขาเลือกนำเข้ามานั้นก็คือ Hay แบรนด์เฟอร์นิเจอร์และข้าวของเครื่องใช้ที่โดดเด่นด้วยสีสัน และรูปทรงสวยสะดุดตา ให้ความรู้สึกร่าเริงสดใส มีทั้งความโมเดิร์นเรียบเท่และความขี้เล่นน่ารักๆ ต่อมาด้วยแบรนด์ที่สองก็คือ Fritz Hansen ที่เหมือนกับงานดีไซน์ที่โตขึ้น เคร่งขรึมขึ้นเมื่อเทียบกับ Hay แต่ก็ยังคงให้ความรู้สึกที่อบอุ่น “พอเราได้แบรนด์เฟอร์นิเจอร์และอยากจะเปิดเป็นโชว์รูมอย่างบ้านหลังนี้ในการจัดแสดงมันก็ยังขาดแสงสว่าง เลยนำไปสู่การนำเข้าแบรนด์ lighting อย่างแบรนด์ Lightyears” คุณอ๋องเล่าเสริม “ซึ่งนอกจาก 3 แบรนด์แรกแล้วก็ยังมีแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์โมเดิร์นอย่าง Vitra. จากเยอรมัน Gubi จากเดนมาร์ก Artek จากฟินแลนด์ รวมไปถึงแบรนด์พรมอย่าง Massimo และแบรนด์ภาพพิมพ์อย่าง Paper Collective จากเดนมาร์ค ครับ โดยแต่ละแบรนด์ล้วนมีประวัติที่ยาวนาน และมีเอกลักษณ์ในแบบของตัวเองครับ ผมเคยคิดเป็น family นะ ถ้าพูดถึง Fritz Hansen ก็คิดว่าเป็นพ่อ Gubi เป็นแม่ ด้วยคาแรกเตอร์ของแบรนด์ให้ Hay เป็นลูกคนเล็ก Vitra. ซึ่งถือเป็นแบรนด์ที่ใหญ่ที่สุดในแบรนด์ทั้งหมดที่เรามีอยู่ เราเน้นไปที่ Office decoration ผมเลยยกให้เป็นลูกคนโตที่ทำงานแล้ว ส่วน Artek คือคุณปู่เพราะมีดีไซน์ที่เรียบง่ายที่สุด”  พอมาถึงตรงนี้เราเลยขอย้อนถามถึงที่มาของชื่อบริษัท Norse Republic “ทุกแบรนด์ของเรานั้นมาจากยุโรปตอนเหนือ เลยทำให้เราใช้ชื่อว่า Norse ครับ งานดีไซน์ทางเหนือกับงานดีไซน์ทางใต้แตกต่างกันคือ ทางเหนือจะเน้นความเรียบง่ายแต่ใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ใช้โทนสีที่สบายตา ผมรู้สึกชอบชื่อนี้ถึงกับเอามาตั้งเป็นชื่อเล่นให้กับลูกชาย เพราะบริษัทเปิดมาพร้อมกับที่น้อง Norse เกิดพอดีด้วยครับ” เขาเล่าพร้อมรอยยิ้ม

 After that, Ong returned to Thailand with the intention to start his own furniture brand. Yet, his exposure and encounter with countless furniture from around the world, coupled with seeing what the country was still missing, made him change his mind to importing brands from abroad that he liked and believed that the new generation would like too. “I founded my company under the name Norse Republic in 2015. Our target market is very clear. While living in Italy at that time, where it is considered to be a country with outstanding fashion and design, I had come across really awesome designs under the Scandinavian style. It was booming and making a comeback again, alongside the hygge lifestyle. This is an interior design trend from Scandinavia that focuses on how to make your home life happy. It’s not directly about design, but more about how to arrange a particular space so you can sit there all day with a book and cup of coffee and be happy.” Ong reveals his inspirations and personal preferences that have culiminated into his current business. He discovered that during that time, Thailand was still focusing on British, Italian and American design aesthetics. He saw an opportunity to present new things to the market, hence has selected to import brands such as Hay, which is a furniture and accessories brand that stands out for its vibrant colours and eye-catching form. Injected with a cheerful glee, there is a sleek and cool moderness to the brand, as well as a cheeky playfulness. The second brand to follow was Fritz Hansen, which involves designs that are more mature and somber in comparison to Hay, yet still retains a convivial element. “When we had all these furniture brands and wanted to open a showroom like in this house, we were still missing lights, so this lead to us importing lighting brands such as  Lightyears,” Ong adds. “Besides these first 3 brands, there is also modern-design furniture such as Vitra from Germany, Gubi from Denmark, Artek from Finland, as well as carpets by Massimo and prints from Paper Collective in Denmark. Every brand has a long history, as well as a very distinct character of their own. I used to think how it could serve the whole family. If we talk about Fritz Hansen, we think about the dad. Gubi can be for mom and with the character of Hay, it could be the youngest child. Vitra is considered the largest brand in our portfolio right now and primarily focuses on office decoration, so this can be the eldest child who is already working. Artek can be for the grandfather because it has the most simplistic designs.”

มาต่อที่คำถามเกี่ยวกับกิจกรรมยามว่างของคุณอ๋องกันบ้าง “ตั้งแต่มีลูก เราก็รู้สึกว่ายังไงยามว่างก็ต้องทุ่มเทให้กับลูก และเราก็ต้องทำกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะของลูก ทุกวันนี้อยู่คอนโด เราก็จะพยายามให้เขาออกไปลงดินมากขึ้น เราไม่อยากให้เขาโตมาในสภาพแวดล้อมที่อยู่แต่บนตึกอย่างเดียว พยายามจะพาไปสวน ไปออกกำลังกาย ไปว่ายน้ำ ไปทะเล” คุณอ๋องเล่าถึงบทบาทในฐานะคุณพ่อซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องท้าทายในชีวิตของเขา “ความท้าทายในฐานะพ่อก็คือทำยังไงให้เราสามารถดูแลและเข้าใจความรู้สึกของลูก ผมว่ามันจะท้าทายไปจนเขาอายุ 20-30 เพราะว่าทุกช่วงชีวิตมันมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ทั้งนิสัย ความชอบ และเราจะเลี้ยงดูยังไงให้เขาให้เขาได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เราคิดว่าเหมาะกับเขา ที่จะทำให้เขาสามารถเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ในอนาคต นี่แหละเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด” มาถึงคำถามสำคัญเกี่ยวกับการบริหารเวลา “บางคนมักพูดว่า มีลูกแล้วจะไม่มีเวลาเหลือเลย ผมคิดว่าไม่จริง เพราะถ้าเราจัดสรรเวลาเป็น มันก็ไม่มีอะไรที่ยากเกินไป ผมพยายามแบ่งให้ชัดเจน จะพยายามทำงานและทำให้มันเสร็จ จบทุกอย่างที่ที่ทำงาน ก็มีบ้างที่เราเอางานกลับไปทำที่บ้านแต่ว่าเราก็จะเลือกเคลียงานช่วงเวลาที่ลูกนอนไปแล้ว ไม่ใช้เวลาที่เขาต้องเล่น ต้องอยู่กับเรา ส่วนวันเสาร์อาทิตย์ผมก็ให้เวลากับลูกและครอบครัวเต็มที่ โชคดีที่ครอบครัวเราค่อนข้างสามารถ balance work กับ life ได้ดีครับ”  คุณอ๋องตอบ แล้วสำหรับช่วงเวลาในหนึ่งวันที่ชอบ “ผมชอบเวลาเช้า กิจกรรมทุกอย่างจะชอบทำตอนเช้า เช่น การออกกำลังกายก็จะชอบทำตอนเช้า ทำตอนบ่ายไม่ได้ เป็นคนตื่นเช้า ผมรู้สึกว่าตอนเช้ามันสดชื่น เวลาทำอะไรก็จะดีไปหมด”  

As to what activities he likes to do in his free time? “Ever since I had a child, I felt that my free time had to be dedicated to him and we feel that we should do activities that develop his skills. We currently live in a condo so we try to take him out walking on the grounds. We don’t want him to just grow up in an environment that’s limited to being on a building so we take him to gardens, to exercise, to swimming, to the sea.” Ong shares that the role of a father is one of the most challenging things in his life. “As a father, one of the challenges is how to take care of your child, while also understanding their feelings. I think this will something that will challenge you well until they are in their 20-30s, because every period in life comes with constant changes at all times, be it their personality or preferences. The question is how to raise them in an environment that is appropriate for them, so they can grow up to be good adults in the future. This is what is most challenging.” We come to that essential question about time management. “Some people say that when you have children, you won’t have any time left at all. I don’t think that’s true, because if you know how to manage your time, nothing is too difficult. I try to divide my time clearly—I try to do all work and let it all end at the office. There are times where I want to bring work to work on at home, but I choose to do it when my son has already gone to bed, not when he wants to play and when he is with me. On weekends, I give all my time to my son and family. Luckily, my family has managed to balance our work and life quite well,” Ong answers. When it comes to his favorite period of time in a day, he says, “I like mornings most and like to do most of my activities in the morning, such as exercising. I like to exercise only in the morning. I can’t do it in the afternoon because I’m an early riser. I feel that the morning is refreshing and no matter what you do, everything comes out good.”

สำหรับ Moments ฉบับ Design Issue อยากถามคุณอ๋องปิดท้ายถึงมุมมองเกี่ยวกับคุณค่าและความแตกต่างระหว่างงานศิลปะ งานดีไซน์ และงานฝีมือ “ผมว่าต้องแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ art and craft กับ design and craft เพราะว่า craft หรืองานฝีมือนั้นเมื่ออยู่ในอะไรก็ตามก็จะทำให้สิ่งๆนั้นมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นงาน painting ที่ศิลปินได้ใส่จิตวิญญาณลงไปในภาพวาดผ่านทุกฝีแปรงและการผสมเจือสีของเขา ย่อมมีคุณค่ามากกว่าชิ้นงานเดียวกันนั้นที่ถูกปริ้นต์ผ่านเครื่องพ้นสีที่ตั้งค่าตายตัวเอาไว้และได้ออกมาเป็นภาพหมื่นๆชิ้นวางขายอยู่เกลื่อนกลาด ส่วน design สำหรับผมเป็นเรื่องที่กว้างมากๆ ทุกอย่างล้วนเป็นงานดีไซน์ได้หมด แต่งานดีไซน์ที่ดีย่อมต้องมาควบคู่กับงานฝีมือ ผมว่างานฝีมือเป็นสิ่งที่ขาดหายไปมากในยุคปัจจุบันที่โลกของเราเต็มไปด้วยเทคโนโลยีการผลิตอันก้าวหน้าล้ำสมัย สามารถผลิตทุกสิ่งอย่างออกมาจำนวนมากมายได้ในเสี้ยววินาที มันทำให้คุณค่าของสิ่งต่างๆลดน้อยลงไป”   

For this Design Issue of Moments, we wanted to conclude by asking Ong about his views on the value and difference between art, design and craftsmanship. “I think you would need to divide it into two groups, between art and craft and design and craft. Because craft is made by hand, no matter where it is at means it will add more value to anything. An example would be a painting that an artist has put their soul into, through every brush stroke and colour combination. It’s obviously more valuable than the same piece of work that has been reproduced by a colour printer that has fixed settings and can produce thousands of pieces—all of which are ubiquitous and sold all over the market. As for design, this is very wide for me as everything can be considered as a design work. But good design must come in hand with good craftsmanship. I feel that craftsmanship is something that’s really missing in our modern era that is advancing towards cutting-edge technology that allows one to produce large amounts of objects in a matter of seconds. It decreases the value of all things.”

“Every brand has a long history, as well as a very distinct character of their own. I used to think how it could serve the whole family. If we talk about Fritz Hansen, we think about the dad. Gubi can be for mom and with the character of Hay, it could be the youngest child. Vitra is considered the largest brand in our portfolio right now and primarily focuses on office decoration, so this can be the eldest child who is already working. Artek can be for the grandfather because it has the most simplistic designs.”

“As a father, one of the challenges is how to take care of your child, while also understanding their feelings. I think this will something that will challenge you well until they are in their 20-30s, because every period in life comes with constant changes at all times, be it their personality or preferences. The question is how to raise them in an environment that is appropriate for them, so they can grow up to be good adults in the future. This is what is most challenging.”

“Some people say that when you have children, you won’t have any time left at all. I don’t think that’s true, because if you know how to manage your time, nothing is too difficult.”

“Good design must come in hand with good craftsmanship. I feel that craftsmanship is something that’s really missing in our modern era that is advancing towards cutting-edge technology that allows one to produce large amounts of objects in a matter of seconds.”

 

 

Read more

Share this News