Home / News / SEAN JINDACHOT: LIFE & TIME
SEAN JINDACHOT: LIFE & TIME
January 15, 2021
SEAN
JINDACHOT
————————————————————————————
LIFE & TIME
ชีวิต ความคิด และตัวตนที่บ่มเพาะขึ้นจากกาลเวลาในโลกของ ฌอห์ณ จินดาโชติ
Interview by Anya Wan
Photo: Chaicharn Ratavanich
ดูเหมือนว่าฌอห์ณ จินดาโชติจะเป็นผู้ชายที่ยืนอยู่ตรงกลางระหว่างโลกคู่ขนานสองใบ และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางอิทธิพลของ ‘เวลา’ มากพอสมควร หนึ่งคือโลกแห่งอดีตอันน่าจดจำซึ่งซึมซับมาจากการคลุกคลีกับคุณปู่ผู้เป็นไอดอล และสองคือโลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยความทันสมัย อันเกิดจากทัศนคติที่เปิดกว้าง ด้วยเรียนรู้มาจากการเดินทางและพบเจอผู้คน
เมื่อพบเจอเพียงผิวเผินจากหน้าจอโทรทัศน์ หลายคนอาจเข้าใจว่าฌอห์ณ จินดาโชติ เป็นเพียงนักแสดงหนุ่มหน้าตาดีและรสนิยมดีคนหนึ่ง จากเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่เขาใส่ กล้องที่เขาจับ รวมถึงบทบาทต่างๆ ในการอยู่หน้ากล้องและแสงไฟ แต่เมื่อได้นั่งลงพูดคุยและทำความรู้จักเขาสักนิด ก็จะเห็นว่าฌอห์ณในวัย 30 ต้นๆ เป็นผู้ใหญ่ที่นิ่งและสุขุมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จนอาจบอกว่าเขามีความคิดที่ลึกซึ้งเกินอายุเลยก็ว่าได้
ฌอห์ณ จินดาโชติ คือนักแสดงที่เริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ละครเรื่อง ‘กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้’ ตั้งแต่ปี 2549 ก่อนจะมีผลงานตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์อย่าง มอญซ่อนผี หรือละครตั้งแต่เรื่องเล่ห์รตี เงาอโศก ลูกไม้ลายสนธยา บาปรัก มาจนถึงเรื่องฤกษ์สังหาร เป็นต้น แต่อีกบทบาท ฌอห์ณยังเป็นนักเขียนที่มีผลงานมาแล้วถึง 2 เล่ม กับสำนักพิมพ์ a book ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเวลาและชีวิต ได้แก่ ‘Present perfect เพราะวันนี้…ดีที่สุดแล้ว’ และ ‘ให้กาลเวลาเล่าเรื่องที่ดี’ โดยปัจจุบันเขายังเป็นคอลัมนิสต์ให้กับสื่อออนไลน์อย่าง a day bulletin อยู่เรื่อยๆ ซึ่งนั่นยิ่งตอกย้ำให้เรารู้สึกว่าผู้ชายคนนี้น่าค้นหาและมีเสน่ห์ในการเป็นนักเล่าเรื่อง (Storyteller) ด้วยวิธีที่หลากหลาย
It appears that Sean Jindachot has his feet in two worlds and lives markedly under the influence of ‘time’. One is the world of a memorable past, ingrained from the time spent with his hero grandfather. The other is the new world, characterized by a modern and open outlook developed from extensive travelling and meeting new people.
At first glance, judging by his fashion sense and choice of accessories such as the cameras that he uses, as well as his roles on the screen, Sean may only seem like a good-looking actor with excellent taste. Once we get to know him better, we find that Sean, in his early thirties, is cool, calm and collected. It may even be said that he’s ahead of his time.
Sean first came to the public’s attention in TV series ‘Kling Wai Korn Por Sorn Wai’ in 2006 before gaining more fame from later work including the film ‘Mon Sorn Pee’ and TV dramas ‘Lay Ratee’, ‘Ngao Asoke’, ‘Look Mai Lai Sontaya’, ‘Baab Rak’ and ‘Rerk Sangharn’. His other role in life, however, is being a writer. He has published two titles which touch on the subject matters of life and time: ‘Present Perfect: Because Today… is the Best Day’ and ‘Let Time Tell Us Good Stories’. He is also a columnist for online media like a day bulletin, which even taps into his charming image as a skilled storyteller.
“ผมคิดว่าโลกของความเก่าและความใหม่มันมีอะไรทับซ้อนกันอยู่ครับ แต่ส่วนตัวผมคิดว่าตัวเองค่อนข้างเอนไปทางด้านแอนทีกซะมากกว่า เราโตที่เมืองนอกก็จริง แต่ที่บ้านผมเลี้ยงมาแบบซีเรียสกับระบบความคิด เขาจะให้เราชัดเจนแบบเด็กอเมริกันได้ แต่ต้องมีเหตุผล และมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่” ฌอห์ณเริ่มเล่าถึงที่มาของการเติบโตทางความคิดของตัวเอง
“ในแต่ละปี จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตผมอยู่แล้ว ซึ่งผมมักจะประมวลผลมันทุกๆ ปลายปี แต่ปีนี้ดันเกิดสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งผมเรียกมันว่าบิ๊กแบง คือตูมทีเดียว สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับทุกคน เราทุกคนมีระยะเหมือนคนป่วย ตอนแรกคือยังไม่พร้อม ต่อมาก็หาวิธีการรักษา จากนั้นก็ปรับตัว เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน หนึ่งสิ่งที่ผมเปลี่ยนไปเลยคือทัศนคติ ผมวางแผนให้กับทุกอย่าง ผมชอบการเป็นนักแสดงและชอบงานอาร์ตนะครับ แต่ก็รู้เลยว่าเราต้องหาอะไรที่มั่นคงกว่านี้ด้วย ก็เลยเปิดบริษัท หันมาจับด้านธุรกิจ”
ฌอห์ณหยิบเอาความสามารถในการเล่าเรื่องของตัวเองมาประยุกต์กับการทำธุรกิจค้าไม้ J. Timber ที่ริเริ่มไว้ตั้งแต่รุ่นคุณปู่และคุณพ่อของเขา “ทุกคนมีภาพในหัวอยู่แล้วว่าเราคือฌอห์ณ ฌอห์ณเล่นละครเรื่องนั้นเรื่องนี้ ฌอห์ณคือน้องใคร บางคนบอกว่ามันทำให้เราได้เปรียบในการมาทำธุรกิจ แต่ของที่ผมขายไม่ใช่เสื้อผ้าหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบันเทิง มันเป็นของที่เกี่ยวกับการสร้างบ้าน มูลค่าสูง ลูกค้าจึงต้องคิดเยอะ และเขาต้องเชื่อถือในแบรนด์ ความยากจึงเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าให้เขาเข้าใจแบรนด์ของเรามากที่สุด
“ด้วยความที่คุณปู่และคุณพ่อผมทำมาก่อน ทำให้เรามีวัตถุดิบและทรัพยากรอยู่แล้ว ข้อได้เปรียบของผมจึงเป็นเรื่องของการสื่อสารที่ตรงประเด็น เรารู้ว่าจะหยิบตรงไหนมาเล่าและนำเสนอ บางครั้งผมก็ทำมันเป็นกึ่ง documentary เพราะผมชอบการเป็น Storyteller ผมยังเคยฝันอยากทำ documentary เกี่ยวกับการท่องเที่ยว จริงๆ ผมมีแพลนจะไปเนปาล กาฏมาณฑุ เล่าเรื่องของศาสนาที่นั่น แต่พอติดโควิดก็ยังทำไม่ได้” เขาเผยถึงแพสชั่นในเรื่องการเดินทาง
“I think there is some overlap between the old and the new worlds. And I personally lean towards the former side. Although I was raised abroad – my family was really serious about learning to think for myself – and allowed to be direct like Americans, they want me to be rational and respectful,” he said about his formation period.
“Recognizable changes always emerge in my life each year and I usually evaluate them at the end of the year. With this year’s COVID-19, which I call a ‘big bang’ as it causes new situation for everyone, we have stages like sick people. We start off from not being ready for it and so we try to find a way to cure it while learning how to live with it. One of the things that it changed in me completely is my outlook. I normally plan everything and love acting and arts, but this incident has taught me that I really need to find something with more security to do. And so I decided to start a business.”
Sean applies his storytelling talent with J. Timber, a lumber business that was founded by his grandfather and passed on to his father. “People have this image of who Sean is. Sean is an actor in such and such shows. Sean is a brother of such and such. Somebody might say that it gives me an advantage but what I’m selling is not fashion items or anything related to the entertainment business. It’s about construction. It’s costly goods. Our customers have to think about it carefully. They must have trust in the brand. The difficulty therefore comes from how we can earn their trust and let them know what our brand represents.”
“Thanks to my dad and his dad who have started it before me, we already have some materials and resources in our possession. Then my asset is my effective communication. I know what and how I should say. Sometimes I did it in a documentary format as I like to be a storyteller. I used to dream about making my own travel documentary. In fact, I had planned to visit Kathmandu in Nepal to tell religious stories there but COVID disrupted it,” he tells us, revealing his passion for travelling.
“การเดินทางคือการเรียนรู้ทุกมิติ เป็นการเปิดโลกให้เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ เราจะมี wisdom และวิสัยทัศน์มากขึ้น ซึ่งคนที่มีวิสัยทัศน์ได้เปรียบเสมอในโลกของการทำงาน ผมสนับสนุนให้ทุกคนรอบตัวผมออกเดินทาง ไปสถานที่ที่คุณสนใจ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ต่อให้คุณเห็นแล้วไปอีกกี่รอบมันก็ไม่เหมือนเดิม เพราะช่วงเวลาเปลี่ยน บุคคลรอบข้างเปลี่ยน บรรยากาศเปลี่ยน เนื้อหาเปลี่ยนแน่นอน” ฌอห์ณชื่นชอบการเดินทางกึ่งวัฒนธรรม กึ่งผจญภัย โดยเอ่ยถึงสถานที่โปรดอย่างอินเดีย เนปาล คิวบา
“ผมชอบไปอินเดียมาก ไปมา 4 ครั้งแล้วมันก็ไม่เคยเหมือนเดิม เป็นประเทศที่สีสันจัดจ้าน เราไปจะเห็นเลยว่าการใช้ชีวิตของคนทุกวรรณะเป็นยังไง จากล่างสุดไปบนสุด และถ้าคุณแค่ข้ามเมืองไปนิดเดียว ฐานเศรษฐกิจที่ต่างกันก็ทำให้เราเห็นชีวิตที่ต่างกันแล้ว อีกอันที่ชอบคือคิวบา มันเป็นประเทศที่เพิ่งเปิด เขาพูดสแปนนิชกันหมดเลย ไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษ การสื่อสารเลยยาก กูเกิ้ลแมพก็ยังไม่ชัดเจน อินเทอร์เน็ตก็จะมีแค่แบบเป็นบัตรขูด รัฐบาลให้แค่นี้ มันเลยติดต่อกันยาก ฉะนั้นถ้าแยกกันนี่ลำบากเลย เลยเหมือนเราได้ย้อนกลับไปสู่ 20-30 ปีที่แล้วของเรา ซึ่งบรรยากาศที่ตัดขาดจากโลกโซเชียลไปสิบกว่าวันก็ดีนะ เราอยู่กับคู่สนทนาและบรรยากาศบ้าง ทำให้เป็นคนตื่นตัวตลอดเวลา”
เมื่อพูดถึงการเดินทางแล้ว ฌอห์ณก็ไม่พลาดที่จะเอ่ยถึงกล้องถ่ายรูปซึ่งเป็นอีกสิ่งที่เขาคลั่งไคล้มากๆ ในบรรดา 6-7 กล้องที่เขามีอยู่ก็จะเป็นกล้องฟิล์ม 3 กล้อง และกล้องดิจิทัลอีก 4 กล้อง “แต่ละสถานที่ที่ไป เราจะเลือกใช้กล้องไม่เหมือนกัน อย่างไลก้าก็จะเน้นภาพขาวดำเป็นหลัก ผมมองว่ามันถ่ายขาวดำได้คมมาก แต่ถ้าฟูจิฟิล์มก็จะเน้นภาพโทนสีเขียว เหมาะไปถ่ายช่วงฤดูหนาว สไตล์ที่ผมชอบที่สุดคือถ่ายรูปขาวดำครับ แล้วก็ภาพสตรีท หรืออะไรที่มันโลคอล เรียลๆ ดิบๆ มีความแอ็บแสตร็กต์หรือมีนัยยะของมัน บางคนบอกว่าถ่ายขาวดำแล้วดูเศร้า ผมว่าไม่ใช่ มันทำให้คุณมองถึงความหมายของภาพมากกว่า” เขาอธิบาย
“Travelling is learning in every aspect. It expands our horizons to new cultures. We get to learn their wisdom and gain insight. And those who have insight always have a head start in the working world. I encourage people around me to travel to the places that interest them. You may have heard many times how nice the place is but seeing is believing. And even when you’ve seen it, another visit would be different. If time changes, people change, environments change, and so the content of your experience has no way to stay unchanged.” A cultural-cum-adventurous traveller, Sean refers to some of his favourite places including India, Nepal and Cuba.
“I’m very much in love with India. I’ve been there four times now and every visit was unique. It’s such a colourful country. You get to see people of every class, how they live from top to bottom, within a single city. Different economic backgrounds create such massive difference in life. Another country that I like is Cuba. The country is just open up to tourism. They speak Spanish and rarely could you find someone speaking English, which made communication tough. Google Maps was still unclear and the internet was only available with scratch cards. That was all the government provided. Making contact was a hard job so there would be so much trouble if we had got separated. It was almost like we time-travelled back to a few decades ago. But that break off from social media for ten days was good, too. In a way, we were forced to focus on our conversations and the surroundings. It made me more mindful constantly.
Speaking of travelling, Sean doesn’t miss an opportunity to mention his other obsession, cameras. Amongst six or seven cameras that he owns, three are film cameras and four digital. “For each destination I choose a different camera. For example, Leica is mainly used for black and white photography. I think that it produces great contrast. Meanwhile, the Fujifilm camera creates a green tinge. It’s suitable to use for winter scenes. My preference is black and white, street style – something that looks local and true to life – or something abstract. Some say that monochrome photographs look depressing, but I disagree. They rather allow you to look through to the real meaning of things,” he explains.
“เหมือนกับเสื้อผ้าแหละครับ ผมเป็นคนเสื้อผ้าเยอะ แต่โทนสีมีไม่กี่สี ขาว ดำ และเทา แบบก็จะเปลี่ยนตามช่วงวัยแต่ก็ยังคงความเป็นตัวเอง มีช่วงหนึ่งฮิตขากระบอก ขาม้า หรือกางเกงทรงเนวี่ ก็เอาของคุณปู่มาใส่บ้าง คุณปู่เป็นไอดอลเรามากๆ เขาแต่งตัวเท่ ใส่แว่น เสื้อยืด กางเกงสีบลูแบบไมอามี่ ฟ้าๆ ฟอกๆ จำได้ว่านาฬิกาก็เท่ ผมเห็นคุณปู่ใส่นาฬิกาไบรทลิ่งมาตั้งแต่ผมอายุ 10 ขวบ แต่ตอนนั้นเราก็ยังเด็กเกินไปที่จะรู้ พอโตมาก็ตั้งมิชชั่นเลยว่าทำงานได้เงินก้อนแรก เราจะซื้อนาฬิกาไบรทลิ่ง เพราะมันดูเป็นเราดี เรือนสีดำ มีโลโก้สีทอง มันมีเท็กซ์เจอร์หรือสไตล์อะไรบางอย่างที่ทุกคนต้องหันมามองแล้วถามว่าคืออะไร” เขาเอ่ยถึงคุณปู่ด้วยแววตาที่เต็มไปด้วยความผูกพันและมีความสุขกับช่วงเวลาในอดีต และอาจเป็นเพราะนาฬิกาเรือนแรกนั้นที่ทำให้เขาได้มาร่วมงานกับไบรทลิ่ง
“นาฬิกาไบรทลิ่ง ถ้าเปรียบเป็นคน สไตล์ก็จะเป็นแบบพรีเซนเตอร์ของเขาเลยครับ มีบุคลิกเท่ๆ อย่างอดัม ไดรเวอร์ (Adam Driver) หรือเป็นสาวอเมริกันเก๋ๆ มีฝีมือการแสดงที่ยูนีกอย่าง ชาร์ลิส เธอรอน (Charlize Theron) ในขณะที่แบรด พิตต์ (Bradd Pitt) เขาก็หล่อแต่ว่ามีความดิบและมีความแคชชวลกึ่งฟอร์มัล” ฌอห์ณเอ่ยถึงโฉมใหม่ของคอลเลกชั่นยอดนิยมของไบรทลิ่งที่เพิ่งเปิดตัวปีนี้อย่าง โครโนแมท (Chronomat) ซึ่งเป็นนาฬิกาสปอร์ตที่อิงดีไซน์ย้อนยุคแต่มาพร้อมกลไกทันสมัย เหมาะกับการสวมใส่ใช้งานในทุกสถานการณ์ และรุ่น Superocean Heritage ’57 ที่เขาชื่นชอบในดีไซน์ของหน้าปัดที่ชัดเจน ดูเรียบๆ แต่ก็ซ่อนความน่าสนใจเอาไว้
“ผมใส่นาฬิกาทุกวันครับ ติดพอๆ กับห้อยพระเลย” เขายิ้ม “อาจเป็นเพราะผมเติบโตมากับนาฬิกาด้วย มันเป็นสิ่งหนึ่งที่นอกจากบอกเวลาแล้วยังบอกความเป็นเรา เหมือนเตือนตัวเราเสมอว่าเราเป็นคนอย่างไร มีแรงขับเคลื่อนหรือไลฟ์สไตล์อย่างไร คือผู้ชายจริงๆ แล้วเป็นเพศที่ไม่ซีเรียสเรื่องดีเทลนะ จะมีคำว่า ‘อะไรก็ได้’ อยู่เสมอ แต่มีอยู่ไม่กี่สิ่งที่ที่ผู้หญิงยังไงก็ไม่เข้าใจว่ามันไม่ใช่อะไรก็ได้ เช่น นาฬิกา รถ ทำไมต้องเป็นคันนี้หรือเรือนนี้เท่านั้น นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมแบรนด์ซูเปอร์คาร์บางแบรนด์ยังอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ เพราะมันมีเอกลักษณ์และตัวตนที่แบรนด์อื่นไม่มี นาฬิกาก็เช่นกันครับ”
และตัวตนของฌอห์ณ จินดาโชติ ที่เราได้ทำความรู้จักจากบทสนทนาครั้งนี้ก็ทำให้เรารู้สึกได้ถึงความลุ่มลึกชัดเจน ไม่น้อยไปกว่าความพิถีพิถันในการเลือกสิ่งของมาประดับอยู่ภายนอกเขาเลย
“ก่อนจากไป ผมอยากทำงานให้มีคุณภาพ ทั้งในบทบาทอาชีพนักแสดงและนักธุรกิจที่มันต่างก็เกื้อหนุนกัน และก็อยากให้เป็นตัวเองมากที่สุดครับ”
“Just like fashion, I have a lot of clothes but in monochromic tones like whites, blacks and greys. My style has changed over time but still remains being myself. At one point I favoured straight-cut and boot-cut jeans. And sometimes I borrowed my grandpa’s Navy’s jeans to wear. He’s really my idol – the way he fashioned himself was very cool. He always wore sunglasses and a T-shirt with Miami blue jeans. Him wearing a cool watch is still burned in my memory. I started seeing him wearing Breitling when I was ten, although I was still too young to know that it was Breitling. When I was grown up enough, I set up a mission of getting a Breitling with my first payments from work because it’s so me – black case, gold logo and some texture or style that makes your head turn.” He speaks about his grandfather with great affection and these are clearly happy memories. Perhaps it is grandfather’s initial inspiration that led him to work with Breitling today.
“If I were to compare a Breitling watch to a person, it would be exactly like its brand ambassadors. Someone with a cool vibe like Adam Driver or a fine actress like the talented Charlize Theron, while Brad Pitt being handsome, he seems to have some raw elements looking casual yet formal.” Sean mentions the new classic collection, the Chronomat, that Breitling has just launched this year. The Chronomat collection is a vintage-inspired sports watch that features modern mechanisms suited for all purposes. The Superocean Heritage ’57 watch is his most loved, for it has a simple but exaggerated design on the dial which makes it look incredibly interesting.
“I wear a watch every day. It’s a habit, like wearing a Buddhist amulet necklace,” he says with a grin. “Perhaps because I grew up seeing watches. It’s something that doesn’t just tell me the time, it tells me something about myself. It’s a reminder of who I am – about my drive and my lifestyle. I think men don’t really pay much attention to detail. We often say ‘whatever’. But there are a few things, perhaps that women can’t really understand, which can’t simply be ‘whatever’, such as watches and cars – it has to be this car model or this particular watch. This is exactly why some supercar brands still continue to exist today. There’s an identity and something unique that you can’t find from other brands. Watches are likewise.”
The Sean that we got to know during this conversation emanates his deep thoughts as well as the impeccable care he takes in choosing what to adorn himself with.
“Before I leave this world, I’d like to produce good quality work, both as an actor and as a businessman while each supporting the other. And more importantly, I want to be true to myself as much as I can.”